อะไหล่จักรกลการเกษตร

อะไหล่จักรกลการเกษตร ได้รับความนิยมตามเทคโนโลยีที่พัฒนาควบคู่ไปกับ รถเกี่ยว รถไถ รถแทรกเตอร์  ถูกออกแบบเพื่อให้มีความสามารถในการทำงานที่หลากหลาย ตั้งแต่งานทำสวนทำไร่ไปจนถึงการเกษตรแบบง่าย รวมถึงความสามารถในการทำงานอื่น ๆ ที่หลากหลายมากขึ้นด้วยการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น รถตักด้านหน้า หรือ รถขุดด้านหลัง อีกทั้งการออกแบบพัฒนานวัตกรรมเครื่องยนต์ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อการทำงานในสถานการณ์ต่าง ๆตามความต้องการของเกษตรกร

บริษัท มาชิเทค จำกัด ได้เตรียมสินค้าเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกร ทั้งในส่วนของ อะไหล่รถเกี่ยว และ อะไหล่รถไถ

อะไหล่รถเกี่ยว ได้แก่ แทรคยาง ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ , หัวจรวด , ใบมีด , โรลเลอร์ , เฟืองขับ , แผ่นประกับเฟืองขับ , เหล็กประคองหลัง , เหล็กประคองหน้า , ราวใบมีด , ล้อนำ , แขนล้อนำ , ซีลต่าง ๆ , โซ่คอลำเลียง , กรองต่าง ๆ , โรลเลอร์ D2 , หัวบิดข้าวโพด อะไหล่หัวบิดข้าวโพด , ปั๊มไฮดรอลิกรถไถ

อะไหล่รถไถ ได้แก่ อะไหล่รถไถ ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ , ปั๊มไฮดรอลิกรถไถ , ยอย PTO , ลูกปืนยอย , ลูกหมากรถไถ , สลิปคลัทช์ , เฟืองโซ่ , แผ่นคลัทช์ , ซุ้มคลัทช์ , ชุดจานกดคลัทช์ , ชุดกรองอากาศ , หัวเกียร์เจาะดิน , หัวเกียร์หางตัดหญ้า

ประเภทของอะไหล่จักรกลการเกษตร

อะไหล่รถเกี่ยวข้าว

รถเกี่ยวข้าว เครื่องจักรกลการเกษตรสำคัญที่ช่วยให้เกษตรกรทำงานได้เร็วขึ้น รถเกี่ยวข้าวมีบทบาทสำคัญจนกลายเป็นเครื่องจักรที่ชาวนาขาดไม่ได้เมื่อฤดูกาลเก็บเกี่ยว บ้างก็ซื้อไว้ใช้งานกับพื้นที่ของตนเอง และหลังจากที่เกี่ยวข้าวของตนเสร็จ ก็สามารถนำไปรับจ้างเกี่ยวข้าวเพิ่มรายได้ให้ตนเองได้อีกทางหนึ่ง …

อะไหล่รถไถ

ในปัจจุบันมีรถไถให้เลือกหลายรุ่น รถไถสมัยใหม่จึงได้รับการออกแบบเพื่อให้มีความสามารถการทำงานที่หลากหลาย ตั้งแต่งานทำสวนจนถึงการเกษตรแบบง่าย รวมไปถึงความสามารถในการทำงานอื่น ๆ ได้มากขึ้น โดยการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม เช่น รถตักด้านหน้า หรือ รถขุดด้านหลัง …

หัวบิดข้าวโพด

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่มีความต้องการในตลาดสูง เดิมขั้นตอนการเก็บเกี่ยวฝักข้าวโพดยังใช้แรงงานคนในการหักปลิดทีละฝัก ซึ่งเสียเวลามาก หาคนงานยากและมีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าเก็บเกี่ยวช้าอาจเกิดความเสียหายจากฝน หลังจากปลิดฝักข้าวโพดได้แล้วยังต้องนำไปเข้าเครื่องสีข้าวโพด หรือ เครื่องกระเทาะข้าวโพด จึงได้จะได้เมล็ดข้าวโพดไปจำหน่าย ในต่างประเทศนิยมใช้รถเก็บเกี่ยวข้าวโพด หรือ Corn Harvester แต่ราคาสูงมาก …

อุปกรณ์ต่อพ่วงรถไถ

ระบบอุปกรณ์ หรือ เครื่องมือทุ่นแรงของแทรกเตอร์ส่วนใหญ่ จะเป็นแบบลากและแบบติดกับรถ สาเหตุที่มีหลายแบบเนื่องจากขนาดของอุปกรณ์ ตลอดจนการใช้งานต่างกัน จึงไม่สามารถทำให้ใช้ระบบพ่วงอุปกรณ์แบบเดียวกันได้ ระบบพ่วงอุปกรณ์แบบลากมีส่วนประกอบที่สำคัญ ได้แก่ คานลากซึ่งติดอยู่ทางด้านหลังของรถแทรกเตอร์ โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบติดแน่น และแบบแกร่งได้ สำหรับระบบพ่วงอุปกรณ์แบบติดกับรถนั้นแบ่งออกเป็น 3 แบบ …

โซ่ลูกกลิ้ง โซ่ลำเลียง

โซ่แบบลูกกลิ้ง มักถูกใช้เพื่อเพิ่มกำลังให้กับสายพานลำเลียง สายพานลำเลียงต้องใช้โซ่ขับเคลื่อนมากกว่าสายพานขับเพื่อหลีกเลี่ยงการลื่นไถล โซ่ลูกกลิ้งลำเลียงจัดอยู่ในกลุ่ม โซ่ลำเลียง (CONVEYOR CHAIN) เป็นโลหะชนิดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกันเป็นข้อเป็นสายยาว มีลักษณะเหมือนสายพาน แข็งแรง ออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักสิ่งของแล้วลำเลียงย้ายจากที่หนึ่งไปสู่อีกที่หนึ่ง …

อะไหล่รถตัดอ้อย -รถฉีดยา

รถตัดอ้อยเป็นเครื่องมือเก็บเกี่ยวอ้อยซึ่งใช้ในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ลดความยุ่งยากในการจัดการการบรรทุกขนส่ง ใช้ในการตัดอ้อยแบบอ้อยท่อน พร้อมทั้งมีตัวตัดยอด และหางสะพานลำเลียงอ้อยขึ้นสู่รถตระกร้า หรือ รถบรรทุก ช่วยทดแทนแรงงานคน และลดความยุ่งย่างในการจัดการกับแรงงานคน ช่วยให้สามารถกำหนดเป้าหมายและวางแผนการตัดอ้อยได้อย่างมีประสิทธิภาพ …

อะไหล่รถเจาะบาดาล-รถสไลด์

บ่อบาดาล ตามความหมายที่คนทั่วไปเข้าใจ หมายถึง บ่อทุกประเภทที่ใช้เครื่องเจาะ เจาะลงไปเพื่อเอาน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ได้ การเจาะน้ำบาดาลเป็นเรื่องทางเทคนิคของช่างเจาะโดยเฉพาะ ปัญหาสำคัญที่พึงระวัง คือ การเลือกใช้เครื่องเจาะให้ถูกต้อง การเลือกประเภทเครื่องเจาะ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบสำคัญหลายประการ เช่น วัตถุประสงค์ที่จะเอาน้ำมาใช้ ปริมาณน้ำที่ต้องการ ความลึกของบ่อน้ำบาดาล สภาพความแข็งและการวางตัวของชั้นหิน …

ข่าวสารและโปรโมชั่น

มาตรฐาน IP คืออะไร?

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine❝IP❞ มาตรฐานบอกระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำ ย่อมาจากคำว่า International Protection Standard หรือบางครั้งถูกตีความเป็น Ingress Protection Rating คือ มาตรฐานที่บอกถึงระดับการป้องกันฝุ่นและน้ำของเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า โดยการบอกระดับมาตรฐานการป้องกันนั้นจะแสดงตัวเลข 2 หลักที่ตามหลังตัวอักษร คือ IPxx โดยตัวเลขหลักแรก หมายถึง ระดับการป้องกันของฝุ่น ซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0 – 6 ส่วนตัวเลขหลักที่สอง หมายถึง ระดับการป้องกันของน้ำซึ่งจะมีระดับตั้งแต่ 0 – 9 มาตรฐาน IP ที่นิยมและมักพบเห็นกันอยู่บ่อย มีดังนี้ IP54 ▸คือ มาตรฐานที่จะเป็นตัวบอกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือนั้นๆ มีความสามารถที่จะป้องกันฝุ่นได้ อาจจะมีฝุ่นเล็กน้อยที่เล็ดลอดเข้าไปได้ แต่จะต้องไม่มีผลใด ๆ ต่อการทำงานของอุปกรณ์ และมีความสามารถที่จะป้องกันละอองน้ำที่ตกกระทบตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง IP65 ▸คือ มาตรฐานที่จะเป็นตัวบอกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือนั้น ๆ มีความสามารถที่จะป้องกันฝุ่นได้สมบูรณ์ และมีความสามารถที่จะป้องกันน้ำจากการฉีดที่ตัวอุปกรณ์ได้จากทุกทิศทาง IP66 ▸คือ มาตรฐานที่จะเป็นตัวบอกว่าอุปกรณ์หรือเครื่องมือนั้น […]

Editor

March 23, 2023

มาตรฐาน CE คืออะไร?

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineCE มาจากภาษาฝรั่งเศษ “Conformité Européene” เป็นสัญลักษณ์มาตรฐานสากลชนิดหนึ่งจากยุโรป เเปลเป็นภาษาอังกฤษได้ว่า “European Conformity” หรือแปลเป็นไทยว่า “มาตรฐานเป็นที่ยอมรับของทวีปยุโรป” การรับรอง CE คือ กฎระเบียบว่าด้วยความปลอดภัยในสหภาพยุโรป ที่กำหนดให้ผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการทดสอบที่ระบุไว้ จึงจะสามารถจำหน่ายได้อย่างถูกกฎหมายทั้งในสหภาพยุโรปและเขตเศรษฐกิจยุโรป ผลิตภัณฑ์ที่มีสัญญลักษณ์ “CE” จะเเสดงถึงความปลอดภัยในด้านสุขภาพ เเละเป็นมิตรต่อสิ่งเเวดล้อม โดยทางสหภาพยุโรปใช้มาตรฐานนี้ เพื่อยืนยันความปลอดภัยเเละส่งเสริมให้การค้าระหว่างประเทศเป็นไปอย่างราบรื่น และสามารถจำหน่ายได้อย่างเสรีในเขตเศรษฐกิจยุโรป . ประเภทสินค้าที่ต้องมีสัญลักษณ์มาตรฐาน CE มีผลิตภัณฑ์อยู่ 20 กลุ่ม เช่น – อุปกรณ์และเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้า – ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้าง – เครื่องทำความเย็นต่าง ๆ ใช้ภายในครัวเรือน – ของเล่น ที่ออกแบบมาสำหรับเด็กอายุ ไม่เกิน 14 ปี – อุปกรณ์เกี่ยวกับแรงดัน – อุปกรณ์เกี่ยวกับสถานีโทรคมนาคมเเละวิทยุ เป็นต้น . ด้วยเหตุนี้ จึงมั่นใจได้ว่าแบตเตอรี่ลิเธียมจากมาชิเทคที่ได้รับมาตรฐาน […]

Editor

March 23, 2023

การใช้งานรถตัดหญ้าบังคับวิทยุในไร่เมล่อน

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineบริษัท มาชิเทค จำกัด ได้นำรถตัดหญ้าบังคับวิทยุ นวัตกรรมการเกษตรใหม่ล่าสุดจากต่างประเทศ สาธิตการใช้งานจริงในไร่เมล่อน เป็นการใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการการเพาะปลูกสมัยใหม่ ( Smart farming ) มุ่งเน้นการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตรในปัจจุบัน และเป็นการจัดการวัชพืชเพื่อเพิ่มผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่ง โดยในการนี้ ได้รับความร่วมมือในการสาธิตสินค้าเป็นอย่างดี จากบริษัท ฟาร์มคอนเน็ค เอเชีย จำกัด หนึ่งในบริษัทผู้ให้บริการระบบ IoT (Internet of Things) ควบคุมอุปกรณ์และเก็บข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการการเพาะปลูกสมัยใหม่ ณ นาวิต้าฟาร์ม อำเภอ บางไทร จังหวัด พระนครศรีอยุธยา สนใจติดต่อ บริษัท มาชิเทค จำกัด สินค้านวัตกรรมการเกษตร (โดรนการเกษตร รถตัดหญ้าบังคับวิทยุ และระบบ IoT) เพื่อการบริหารจัดการการเพาะปลูกและควบคุมต้นทุนการผลิตสำหรับการเกษตรสมัยใหม่ สินค้าคุณภาพสูง มาตรฐานระดับสากล รับประกันสินค้าทุกชิ้น พร้อมบริการก่อนและหลังการขาย โดยทีมช่างชำนาญการกว่า 20 ปี Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine

Editor

March 15, 2023

นำเสนอนวัตกรรมการเกษตร ให้คณะรัฐมณตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ มาเลเซีย

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineบริษัท มาชิเทค จำกัด ได้รับเกียรติจาก บริษัท ฟาร์มคอนเน็ค เอเชีย จำกัด เชิญเข้าร่วมนำเสนอนวัตกรรมการเกษตรที่ใช้ในการแก้ปัญหาแรงงานและลดต้นทุนการผลิต ด้วยการใช้เทคโนโลยีบริหารจัดการการเพาะปลูก ( Smart farming ) แด่ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ประมง และอุตสาหกรรมอาหาร แห่งรัฐซาบา ประเทศมาเลเซีย ด็อกเตอร์ เจฟเฟอรี่ จี ดาตั๊ก พร้อมคณะทำงาน ณ นาวิต้าฟาร์ม อำเภอ บางไทร จังหวัด พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLine

Editor

March 15, 2023

โดรนการเกษตร (Agricultural Drone) คืออะไร ?

Facebook iconFacebookTwitter iconTwitterLINE iconLineปัจจุบันเกษตรกรเริ่มมีการใช้โดรนเข้ามาช่วยงานการเกษตรมากขึ้น จึงถูกเรียกขานว่า “โดรนการเกษตร” หรือ “Agricultural Drone” เป็นโดรนที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะทางที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรต่าง ๆ เช่น มีซอฟต์แวร์ช่วยจัดทำแผนที่ ระบบจัดตารางบินสำรวจพื้นที่ เซนเซอร์ตรวจจับโรคพืช ไปจนถึงระบบวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศ ดิน น้ำ เพื่อวางแผนการเพาะปลูกให้กับเกษตรกร รวมไปถึงงานทั่วไปอย่างการฉีดยากำจัดศัตรูพืช การฉีดปุ๋ย หรือ การฉีดพ่นรดน้ำ ตามตารางเวลาซึ่งโดรนก็สามารถทำได้ตามต้องการ ในส่วนอื่น โดรนเข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในทุกกระบวนการ ตั้งแต่กระบวนผลิต ที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้กับพืชผล ช่วยประหยัดเวลา หรือกระทั้งลดแรงงานในการทำงาน ตัวอย่างเช่น โดรนหว่านปุ๋ย และฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชในนาข้าว โดยปกติ การฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชและหว่านปุ๋ยในนาข้าวต้องใช้แรงงานคน ใช้เวลาในการทำงานหลายชั่วโมงต่อพื้นที่ มีค่าจ้างต่อไร่ในการทำงาน มักพบปัญหาการเหยียบย่ำลงแปลงนาเพื่อทำการหว่านปุ๋ยและฉีดพ่นยาให้ได้ทั่วถึง ทำให้พืชผลได้รับความเสียหาย ทั้งยังเสี่ยงอันตรายจากการฟุ้งกระจายของสารเคมีที่มีผลกับผู้ฉีดพ่น แต่เมื่อนำโดรนมาทำงานแทน พบว่าค่าใช้จ่ายต่อไร่ลดลง ลดเวลาในการทำงาน และใช้แรงงานคนในการควบคุมเพียง 1-2 คนเท่านั้น ในส่วนอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีกับแรงงานหมดไป ทำงานฉีดพ่นได้ทั่วถึงแม่นยำเต็มพื้นที่ พืชผลไม่เสียหายจากการเหยียบย่ำ ทำให้ได้ผลผลิตเต็มเม้ดเต็มหน่วย โดรนสำหรับการถ่ายภาพวิเคราะห์ และตรวจโรคพืช ด้วยการนำโดรนมาติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ พร้อมกล้องสำหรับถ่ายภาพทางอากาศ […]

admin_kspeqty

July 5, 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save