โดรนเพื่อการเกษตร
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางนวัตกรรมการเกษตรพัฒนาไปมาก มีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการยุคใหม่ หรือที่เรียกกันว่า ยุค Smart Farming ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดรนเพื่อการเกษตร ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเหล่านั้น มีลักษณะการใช้งานแบ่งได้ 2 ประเภท
NAcDrone โดรนเพื่อการเกษตร
ปัจจุบันความก้าวหน้าทางนวัตกรรมการเกษตรพัฒนาไปมาก มีเทคโนโลยีมากมายที่เข้ามาตอบโจทย์ความต้องการยุคใหม่ หรือที่เรียกกันว่า ยุค Smart Farming ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นนวัตกรรมที่เข้ามาช่วยให้เกษตรกรมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดรนเพื่อการเกษตร ถือเป็นหนึ่งในนวัตกรรมเหล่านั้น มีลักษณะการใช้งานแบ่งได้ 2 ประเภท ประเภทแรก คือ ใช้สำรวจ และวางแผนการผลิตพืช ไม่ว่าจะการสำรวจพื้นที่ ติดตามการเติบโตของพืช เพื่อนำมาคาดการณ์ผลผลิตหรือวางแผนการจัดการแปลง และประเภทที่สอง คือ ใช้เพื่อทุ่นแรง เช่น การหว่านเมล็ดพืช ปุ๋ย หรือฉีดพ่นสารเคมี โดรนมีประโยชน์อย่างมาก โดยเฉพาะกับการใช้เพื่อดูแลพืชที่มีลำต้นสูง ที่การฉีดพ่นปุ๋ยหรือยากำจัดศัตรูพืชด้วยอุปกรณ์แบบแบกหลังเป็นเรื่องยาก ต่างจากการใช้โดรนฉีดพ่นที่ทำได้อย่างทั่วถึง ช่วยให้พืชผลิตดอกออกผลได้ดีกว่า
การพ่นปุ๋ย หรือยากำจัดศัตรูพืชของโดรนเพื่อการเกษตรนั้น มีความแม่นยำในการพ่นยาหว่านปุ๋ยสูง ช่วยให้เกษตรกรปลอดภัยจากการสัมผัสสารเคมีโดยตรง ทั้งยังประหยัดต้นทุน สามารถใช้ทรัพยากรที่มีได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ทำให้สามารถกำหนดผลผลิต ให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพมากที่สุด
ปัจจุบัน มีแหล่งเงินทุนสำหรับสนับสนุนเกษตรกรให้เข้าถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่เหล่านี้มากขึ้น เช่นเดียวกับโดรนเพื่อการเกษตร แต่เกษตรกรควรต้องทราบกฎหมายและข้อบังคับต่าง ๆ ก่อนเลือกหาโดรนมาใช้ด้วย
การใช้โดรนในประเทศไทยมีข้อบังคับและกฎหมายควบคุมภายใต้พระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 ดังนี้
- โดรนที่ไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพและน้ำหนักไม่เกิน 2 กิโลกรัม ไม่ต้องขึ้นทะเบียน โดรนที่ไม่ติดตั้งกล้องบันทึกภาพ แต่มีน้ำหนักเกิน 2 กิโลกรัม ต้องขึ้นทะเบียน โดรนที่มีน้ำหนักมากกว่า 25 กิโลกรัม ต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และโดรนที่ติดตั้งกล้องถ่ายภาพต้องขึ้นทะเบียนทุกกรณี
- การบังคับหรือปล่อยโดรนต้องสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลาที่ทำการบิน และห้ามทำการบังคับโดยมองจากภาพของกล้องบนโดรน
- ห้ามบังคับโดรนเข้าใกล้อากาศยานที่มีนักบิน
- ห้ามทำการบินภายในระยะ 9 กิโลเมตร จากสนามบิน หรือ ที่ขึ้นลงชั่วคราวของอากาศยาน นอกจากจะได้รับอนุญาต
- ห้ามทำการบินโดยมีระยะห่างในแนวราบ กับ บุคคล ยานพาหนะ สิ่งก่อสร้าง หรืออาคาร น้อยกว่า 30 เมตร
- ห้ามทำการบินในบริเวณเขตห้าม รวมทั้งสถานที่ราชการ หน่วยงานรัฐ โรงพยาบาล นอกจากจะได้รับอนุญาต