ระบบ IOT สำหรับงานเกษตร
Internet of Things (IoT) เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ให้สามารถติดต่อ รับส่งข้อมูล รับคำสั่งเพื่อควบคุมอุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยอุปกรณ์ Smart device ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Smart phone , Tablet หรือ Notebook ซึ่งการเชื่อมต่อนั้นสามารถเก็บและรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังมีระบบคลาวด์ที่จัดการประมวลผลข้อมูลผ่านทางออนไลน์ ช่วยให้เราสามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา
ระบบ IoT สำหรับเกษตรกรรม
ปัจจุบันคInternet of Things (IoT) เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ให้สามารถติดต่อ รับส่งข้อมูล รับคำสั่งเพื่อควบคุมอุปกรณ์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ด้วยอุปกรณ์ Smart device ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น Smart phone , Tablet หรือ Notebook ซึ่งการเชื่อมต่อนั้นสามารถเก็บและรวบรวมข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังมีระบบคลาวด์ที่จัดการประมวลผลข้อมูลผ่านทางออนไลน์ ช่วยให้เราสามารถควบคุมและเข้าถึงข้อมูลได้ตลอดเวลา
ปัจจุบัน ภาคเกษตรกรรมมีการนำ IoT และเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้บริหารจัดการการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ รวมไปถึงกระบวนการดูแลและควบคุมการผลิตให้มีประสิทธิภาพ แก้ปัญหาผลผลิตไม่ได้คุณภาพและปริมาณอันเกิดจากขาดการวิเคราะห์และจัดการข้อมูลเชิงลึก เช่น การประเมินสภาพอากาศ สภาพดิน สิ่สภาพงแวดล้อมที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชหรือการเลี้ยงสัตว์ โดย IoT จะช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลให้เป็นระบบและวิเคราะห์ผลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อการผลิตได้ ซึ่งจะนำไปสู่การเป็น Smart Farming สร้างรูปแบบเกษตรกรรมที่สามารถแข่งขันในเชิงธุรกิจได้
หลักการทำงานของ IoT ในภาคเกษตรกรรมอย่างหนึ่ง คือ การนำเทคโนโลยี RFID Sensors (Radio Frequency Identification Sensors) เข้ามาใช้ในการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ทางเกษตรกรรมต่าง ๆ เพื่อให้อุปกรณ์สามารถเชื่อมต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ควบคุมหลักได้ ผ่านระบบอินเทอร์เน็ตแบบ Real time เช่น
- เซ็นเซอร์ตรวจสอบคุณสมบัติของดิน เพื่อปรับปรุงดินให้เหมาะสมกับการปลูกพืช และนำมาใช้ในการวางแผนปลูกพืชในรอบต่อไป
- เซ็นเซอร์วัดค่าความชื้นและปริมาณน้ำในดิน เพื่อใช้ในการคำนวณปริมาณและเวลาในการรดน้ำ
- เซ็นเซอร์ตรวจวัดอุณหภูมิ เพื่อใช้ควบคุม เฝ้าระวังโรคและแมลงศัตรูพืช
- เซ็นเซอร์เก็บข้อมูลสถานที่และตำแหน่งของฝูงปศุสัตว์ รวมถึงตรวจสุขภาพสัตว์ หรือตรวจสอบสภาพความเป็นอยู่ภายในโรงเรือน ซึ่งช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านแรงงาน และป้องกันการแพร่กระจายโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การใช้ระบบเซ็นเซอร์ควบคู่กับการเชื่อมโยงข้อมูลเรดาห์ติดตามสภาพอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม โดยการใช้ Software วิเคราะห์คาดการณ์สภาพอากาศ แจ้งเตือนแนวโน้มเกี่ยวกับภัยธรรมชาติต่าง ๆ เช่น เส้นทางพายุ ปริมาณน้ำฝน เพื่อช่วยให้เกษตรกรลดความเสี่ยงจากความเสียหายของผลผลิตได้
การใช้โดรน (Drone) สำหรับจัดการแปลงเกษตร เช่น สำรวจพื้นที่ ฉีดพ่นปุ๋ย-ยาฆ่าแมลง หรือเก็บข้อมูลผลผลิต โดยสามารถเชื่อมต่อข้อมูลกับระบบแผนที่ ในการกำหนดพิกัดแปลงพืช เพื่อให้โดรนเข้าไปทำงานได้อัตโนมัติ ช่วยลดต้นทุนแรงงานอีกทางหนึ่ง
เกษตรกรหรือเจ้าของธุรกิจในภาคการเกษตร จึงจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับ เทคโนโลยี IoT ในภาคเกษตรกรรม เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ให้เข้ากับแนวทางการเกษตรของตนอย่างเหมาะสม ซึ่งจะเป็นการอำนวยความสะดวกในการทำงาน พัฒนาคุณภาพ ลดความเสียหายของผลผลิต และลดต้นทุนในระยะยาว อันเป็นแนวทางสำคัญของการเป็น Smart farmer ในอนาคตอีกด้วย