โดรนการเกษตร (Agricultural Drone) คืออะไร ?

ปัจจุบันเกษตรกรเริ่มมีการใช้โดรนเข้ามาช่วยงานการเกษตรมากขึ้น จึงถูกเรียกขานว่า “โดรนการเกษตร” หรือ “Agricultural Drone” เป็นโดรนที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะทางที่ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในด้านการเกษตรต่าง ๆ เช่น มีซอฟต์แวร์ช่วยจัดทำแผนที่ ระบบจัดตารางบินสำรวจพื้นที่ เซนเซอร์ตรวจจับโรคพืช ไปจนถึงระบบวิเคราะห์ข้อมูลสภาพอากาศ ดิน น้ำ เพื่อวางแผนการเพาะปลูกให้กับเกษตรกร รวมไปถึงงานทั่วไปอย่างการฉีดยากำจัดศัตรูพืช การฉีดปุ๋ย หรือ การฉีดพ่นรดน้ำ ตามตารางเวลาซึ่งโดรนก็สามารถทำได้ตามต้องการ ในส่วนอื่น โดรนเข้าไปมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในทุกกระบวนการ ตั้งแต่กระบวนผลิต ที่ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตให้กับพืชผล ช่วยประหยัดเวลา หรือกระทั้งลดแรงงานในการทำงาน ตัวอย่างเช่น โดรนหว่านปุ๋ย และฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชในนาข้าว โดยปกติ การฉีดพ่นยากำจัดศัตรูพืชและหว่านปุ๋ยในนาข้าวต้องใช้แรงงานคน ใช้เวลาในการทำงานหลายชั่วโมงต่อพื้นที่ มีค่าจ้างต่อไร่ในการทำงาน มักพบปัญหาการเหยียบย่ำลงแปลงนาเพื่อทำการหว่านปุ๋ยและฉีดพ่นยาให้ได้ทั่วถึง ทำให้พืชผลได้รับความเสียหาย ทั้งยังเสี่ยงอันตรายจากการฟุ้งกระจายของสารเคมีที่มีผลกับผู้ฉีดพ่น แต่เมื่อนำโดรนมาทำงานแทน พบว่าค่าใช้จ่ายต่อไร่ลดลง ลดเวลาในการทำงาน และใช้แรงงานคนในการควบคุมเพียง 1-2 คนเท่านั้น ในส่วนอันตรายจากการสัมผัสสารเคมีกับแรงงานหมดไป ทำงานฉีดพ่นได้ทั่วถึงแม่นยำเต็มพื้นที่ พืชผลไม่เสียหายจากการเหยียบย่ำ ทำให้ได้ผลผลิตเต็มเม้ดเต็มหน่วย โดรนสำหรับการถ่ายภาพวิเคราะห์ และตรวจโรคพืช ด้วยการนำโดรนมาติดตั้งระบบเซ็นเซอร์ พร้อมกล้องสำหรับถ่ายภาพทางอากาศ และใช้งานร่วมกับระบบ GPS ในการหาพิกัดต่าง […]

admin_kspeqty

July 5, 2022

“ข้าว” วิถีชาวนาไทย

“ข้าว” ต้นธารแห่งอารยธรรมของผู้คนในแถบอุษาคเนย์ รากเหง้าของขนบธรรมเนียมประเพณีที่ยึดโยงเราไว้กับชุมชนและความเป็นชาติ รวมทั้งยังเป็นวัฒนธรรมร่วมที่หลอมรวมประชาคมในภูมิภาค ในประเทศไทยก็เช่นกัน วิถีของข้าวเป็นตัวกำหนดวิถีของสังคม โดยวัฏจักรของข้าวจะสอดคล้องกลมกลืนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับวิถีชีวิตข้าว รากเหง้าแห่งวิถีวัฒนธรรม เมื่อย่างเข้าเดือนหก สายฝนเริ่มโปรยปรายส่งสัญญาณให้รู้ว่าฤดูกาลแห่งการปลูกข้าวได้เวียนมาถึงแล้ว ชาวนาจะนำพันธุ์ข้าวที่เก็บไว้ออกมาเตรียมการเพาะปลูก พร้อมหน้าผู้ช่วยอย่างโคและกระบือ สหายผู้แสนดีของชาวนา แม้ในปัจจุบันจะถูกแทนที่ด้วยรถไถนาที่ใช้ประโยชน์ได้ไม่ต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นการไถปรับหน้าดิน พรวนดิน ซึ่งเป็นงานหลักเดิมในการใช้โคกระบือ แต่ที่ทำได้มากกว่า เช่น การหว่านปุ๋ย ตัดแพ้วถางกอไม้ต่าง ๆ เป็นรถลากอุปการณ์เครื่องมือต่างๆ หรือใช้ลากจูงผลผลิตจากแปลงเกษตรสู่ยุ้งฉาง เรื่อยไปจนถึงนำไปใช้ในการฉุดกำลังของเครื่องสูบน้ำเข้าแปลงเกษตร และอีกมากมาย รถไถนาจึงเป็นเครื่องจักรที่ถูกนำมาใช้แทนแรงงานโคกระบืออย่างไม่ต้องสงสัย นี่ยังไม่นับรวมประสิทธิภาพของรถไถนาเมื่อนำมาใช้ควบคู่กับอุปกรณ์ต่อพ่วง เพื่อใช้ประโยชน์ในด้านอื่น ๆ อีกหลายแนวทาง ทั้งนี้ ประโยชน์ที่เห็นได้ชัดของการใช้รถไถนา คือ เพิ่มกำลังการผลิตพืชผล ทำให้ชาวไร่ชาวนาสามารถทำงานได้มากขึ้น เร็วขึ้น และยังลดต้นทุนการทำการเกษตรได้ด้วย กลับมาดูในมุมวัฒนธรรมการดำเนินวิถีชีวิต การทำพิธีกรรมอันเกี่ยวข้องกับการเพาะปลูกข้าว เช่น ในเมืองหลวงจะมีการจัดพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญเพื่อเอาฤกษ์เบิกชัยตามโบราณราชประเพณี ในขณะที่ชาวนาอีสานก็จัดงานบุญบั้งไฟเพื่อบูชาพญาแถนผู้บันดาลให้เกิดฟ้าฝน รวมทั้งจัดพิธีแฮกนาเพื่อบวงสรวงเทพยดาในการลงถือไถครั้งแรก ขณะที่ชาวนาภาคเหนือก็มีพิธีแฮกนาเช่นกัน และยังมีการเลี้ยงผีขุนน้ำเพื่อเซ่นบูชาผีที่รักษาต้นน้ำ ที่จริงยังมีพิธีกรรมอีกมากมายและหลากหลายซึ่งก็ขึ้นอยู่กับความเชื่อในแต่ละท้องถิ่นผู้คนในแต่ละภูมิภาคของไทยต่างก็มีความเชื่อที่เหมือนกันว่า “ข้าว” เป็นธัญพืชศักดิ์สิทธิ์ซึ่งมีเทพธิดาอารักษ์ คือ “แม่โพสพ” จึงต้องจัดให้มีพิธีกรรมเพื่อคารวะแม่โพสพ ตั้งแต่ก่อนเริ่มเพาะปลูกข้าวไปจนกระทั่งเก็บเกี่ยวขึ้นยุ้งฉาง ทุกขั้นตอนของการทำนาจะต้องมีการบอกกล่าวแม่โพสพ และเซ่นสรวงผีนา […]

admin_kspeqty

July 5, 2022

7 ขั้นตอนในการเปลี่ยนปั๊มไฮดรอลิค

รู้หรือไม่การที่จะเปลี่ยนปั๊มไฮดรอลิคลูกใหม่ สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากปั๊มลูกเก่าแรงดันตก ทำให้ไม่สามารถยกสินค้าได้ตามพิกัดน้ำหนักของรถฟอร์คลิฟท์ได้ สาเหตุที่ทำให้ปั๊มแรงดันตก เกิดจากชิ้นส่วนภายในปั๊มมีการสึกหรอ มีสิ่งสกปรกในน้ำมัน หรือน้ำมันเสื่อมสภาพ ซึ่งเกิดจากไม่ได้เปลี่ยนไส้กรองน้ำมัน หรือ เปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิคตามระยะเวลาที่ควรเปลี่ยน ปัญหาที่ตามมาคือ ช่างซ่อมรถฟอร์คลิฟท์มักจะปรับตั้งค่า Relief Valve ในระบบไฮดรอลิคให้แคบลงเพื่อเพิ่มค่าแรงดันน้ำมันในระบบให้สูงขึ้น ทำให้ Relief Valve อยู่ในตำแหน่งที่ผิดเพี้ยนไปจากค่าเดิมที่ตั้งมาจากโรงงานผลิต เมื่อมีการเปลี่ยนปั๊มไฮดรอลิคลูกใหม่โดยไม่ตระหนักถึงปัญหาเดิมที่มีอยู่ในระบบไฮดรอลิค และไม่ได้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยก่อนติดตั้งปั๊มลูกใหม่ จึงมักพบว่าปั๊มลูกใหม่มีปัญหาชำรุดเสียหายอย่างรุนแรงและรวดเร็วหลังการติดตั้งได้ไม่นานเนื่องจากสิ่งสกปรกภายในระบบจะทำให้ชิ้นส่วนต่างๆสึกหรออย่างรวดเร็ว และ Relief Valve ที่ปรับตำแหน่งไปจะทำให้แรงดันในระบบสูงเกินไปจนปั๊มเสียหายได้ การเปลี่ยนปั๊มไฮดรอลิคจึงควรดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้ เปลี่ยนน้ำมันไฮดรอลิคในถังและในระบบออกให้หมด่ รวมถึงน้ำมันที่อาจค้างในกระบอกยก กระบอกคว่ำหงายและกระบอก Side shift หรือ Attachment อื่นๆ ทำความสะอาดภายในท่อน้ำมัน ข้อต่อต่างๆ รวมถึงถังน้ำมันไฮดรอลิคให้สะอาด เปลี่ยนไส้กรองทั้งหมดในระบบไฮดรอลิค ตรวจสอบการรั่วของท่อแป๊บและท่อยางต่างๆในระบบไฮดรอลิค เติมน้ำมันไฮดรอลิคใหม่ลงในถัง โดยใช้เกรดน้ำมันไฮดรอลิคตามที่ทางโรงงานกำหนดเท่านั้น ห้ามออกแรงบิดหรือใช้เครื่องมือหรือการกระทำใดๆไปพยายามหมุนแกนของปั๊มไฮดรอลิค เนื่องจากภายในปั๊มยังไม่มีน้ำมันคอยหล่อลื่นลดการเสียดสีของชิ้นส่วนต่างๆภายในปั๊ม หากมีการบิดหรือหมุนแกนปั๊ม จะทำให้เกิดการสึกหรอหรือชำรุดของชิ้นภายในปั๊มได้ ตรวจสอบทิศทางการหมุนของปั๊มก่อนที่จะทำการติดตั้งเข้ากับรถทุกครั้ง (หมุนตามเข็มนาฬิกาหรือหมุนทวนเข็มนาฬิกา) ปั๊มที่รูปร่างภายนอกเหมือนกันอาจมีทิศทางการหมุนที่แตกต่างกันได้ ซึ่งถ้าใช้ปั๊มที่หมุนผิดทางประกอบเข้ากับรถ จะทำให้คอปั๊มขาด วิธีการตรวจสอบทำได้ดังนี้ 5.1 ดูรหัสของปั๊ม โดยทั่วไปรหัสปั๊มจะตอกติดที่ท้ายปั๊ม […]

admin_kspeqty

July 5, 2022

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save