Home » แบตเตอรี่ลิเธียม » แบตเตอรี่ลิเธียมสำหรับรถโฟล์คลิฟท์

วิธีการเลือกแบตเตอรี่ลิเธียมสำหรับรถโฟล์คลิฟท์

ด้วยสถานการณ์ปัจจุบันที่ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้ธุรกิจต่าง ๆ หันหาทางออกในการลดต้นทุนด้านพลังงานเชื้อเพลิงที่ต้องใช้กับรถและยานพาหนะ ไม่เว้นแม้แต่รถโฟล์คลิฟท์ พลังงานทางเลือกอย่างพลังงานไฟฟ้าจึงเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่ธุรกิจให้ความสนใจ ซึ่งอุปกรณ์ที่ต้องใช้งานควบคู่กันกับระบบไฟฟ้าสำหรับรถ ก็คือ แบตเตอรี่ลิเธียม 

ประเภทแบตเตอรี่สำหรับรถโฟล์คลิฟท์

มีให้เลือก 2 ประเภท ได้แก่ แบตเตอรี่กรดตะกั่ว และ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน

แบตเตอรี่กรดตะกั่ว แบตเตอรี่มาตรฐานเก่าสำหรับการจ่ายไฟให้รถโฟล์คลิฟท์ เป็นหน่วยบรรจุของเหลวขนาดใหญ่ สร้างกระแสไฟฟ้าผ่านปฏิกิริยาเคมีจากแผ่นตะกั่วกับกรดซัลฟิวริก ควบคู่กับการเติมน้ำกลั่นซึ่งเป็นขั้นตอนที่จำเป็นสำหรับกระบวนการทางเคมีของแบตเตอรี่ประเภทนี้

แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า แบตเตอรี่ลิเธียม หรือ แบตลิเธียม เป็นเทคโนโลยีที่ใหม่กว่า ถูกนำมาใช้ครั้งแรกในช่วงปี 1990 สารเคมีที่นิยมนำมาใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ประเภทนี้ คือ ลิเธียมไอออนฟอสเฟต (LFP) มีขนาดกะทัดรัด ให้พลังงานไฟฟ้ามากกว่าแบบกรดตะกั่ว ตัวแบตเตอรี่มีกล่องปิดผนึกมิดชิดปลอดภัยในการใช้งาน ไม่ต้องเติมน้ำกลั่นเหมือนแบบกรดตะกั่ว อีกทั้งยังไม่มีขั้นตอนการบำรุงรักษาเหมือนแบตเตอรี่แบบเก่าอีกด้วย

อายุการใช้งานแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์

แบตเตอรี่ลิเธียม และ แบตเตอรี่กรดตะกั่วมีอายุการใช้งานต่างกัน โดย

  • แบตเตอรี่กรดตะกั่ว มีอายุการใช้งานประมาณ  1,000 – 1,500 รอบ
  • แบตเตอรี่ลิเธียม มีอายุการใช้งานประมาณ  3,000 รอบ

แบตเตอรี่ลิเธียม ไม่ต้องสลับแบตเตอรี่เพื่อใช้งาน 2 – 3 รอบ เนื่องจากสามารถชาร์จแบตเตอรี่ได้รวดเร็ว เมื่อเปรียบเทียบกับแบตเตอรี่กรดตะกั่ว จะต้องมีการสลับแบตเตอรี่หรือเปลี่ยนบ่อยกว่า และไม่ต้องการบำรุงรักษาซึ่งต่างจากแบบเก่าที่มีขั้นตอนการบำรุงรักษามากมาย ได้แก่

            1.) Equalizing (Cell Balancing) บ่อยครั้งที่แบตเตอรี่กรดตะกั่ว จะพบปัญหากรดและน้ำภายในแบตเตอรี่กลายเป็นผลึกซัลเฟตที่ด้านล่างของเซลล์ ทำให้แบตเตอรี่เสื่อมประสิทธิภาพ จ่ายกระแสไฟลดลง การปรับสมดุลจะทำให้ผลึกซัลเฟตละลาย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไปผลึกซัลเฟตจะแข็งและไม่ละลาย

            2.) การควบคุมอุณหภูมิ  ต้องเก็บแบตเตอรี่กรดตะกั่วในอุณหภูมิที่กำหนด มิฉะนั้นจะมีอายุการใช้งานลดลง เนื่องจากแบตเตอรี่ประเภทนี้จะพบปัญหาความร้อนขณะชาร์จ ซึ่งต้องชาร์จและเก็บไว้ในพื้นที่ที่มีการควบคุมอุณหภูมิ

            3.) การจัดการระดับของเหลว แบตเตอรี่กรดตะกั่วต้องได้รับการตรวจสอบเพื่อให้แน่ใจว่ามีน้ำกลั่นเพียงพอต่อกำลังชาร์จต่อรอบ ซึ่งแบตเตอรี่ลิเธียมไม่ต้องการการจัดการของเหลวใด ๆ

ขนาดแบตเตอรี่สำหรับรถโฟล์คลิฟท์

ขนาดแบตเตอรี่สำหรับรถโฟล์คลิฟท์จะพิจารณาจากขนาดของรถ โดยรถโฟล์คลิฟท์ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ จะมีตัวเลือกแรงดันไฟฟ้า ได้แก่  แบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ 24 , 36 , 48 และ 80 โวลต์

โดยแบตเตอรี่สำหรับรถโฟล์คลิฟท์ขนาด 24 โวลต์ จะเหมาะสำหรับรถขนาดเล็ก เช่น Reach truck , Power pallet , Stacker , แม่แรงลากพาเลทไฟฟ้า 

แบตเตอรี่ขนาด 36 โวลต์ ออกแบบสำหรับรถขนาดกลาง เช่น รถยกทางเดินแคบ

แบตเตอรี่ขนาด 48 โวลต์ ออกแบบสำหรับยานพาหนะขนาดใหญ่ เช่น รถยกไฟฟ้าเคาเตอร์บาลานซ์

การชาร์จแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์

การชาร์จแบตเตอรี่โฟล์คลิฟท์ ทั้งแบตเตอรี่กรดตะกั่ว และ แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน มีความแตกต่างกันมาก โดยแบตเตอรี่ลิเธียมสามารถชาร์จได้สะดวกตลอดเวลา ไม่จำเป็นต้องชาร์จจนเต็มความจุก็สามารถใช้งานได้ ในทางกลับกัน แบตเตอรี่กรดตะกั่ว ไม่สามารถชาร์จตลอดเวลา และมีขั้นตอนที่ยุ่งยากหากทำไม่ถูกวิธีแบตเตอรี่อาจเสื่อมคุณภาพได้

ความปลอดภัยจากการใช้งานแบตเตอรี่

ข้อพึงระวังเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานแบตเตอรี่แบบกรดตะกั่ว

  • การรั่วไหลของกรดซัลฟิวริกที่เป็นพิษสูงภายในแบตเตอรี่ อาจเกิดปัญหาได้ในขณะเติมน้ำกลั่น
  • ความร้อนสูงเกินไป แบตเตอรี่ประเภทนี้จะร้อนขึ้นขณะชาร์จ จึงต้องทำการควบคุมอุณหภูมิในขณะชาร์จเพื่อความปลอดภัย
  • ก๊าซอันตราย หากแบตเตอรี่กรดตะกั่วมีประจุมากเกินไป จะเกิดก๊าซที่เป็นอันตรายกับผู้ใช้งานได้ เช่น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ก๊าซไฮโดรเจน และก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (ก๊าซไข่เน่า) ควรติดตั้งเซ็นเซอร์ก๊าซ LEL เพื่อความปลอดภัย 
  • แบตเตอรี่สึกกร่อน แบตเตอรี่กรดตะกั่วที่มีสภาพเก่าหรือสึกกร่อน เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งาน ต้องกำจัดทิ้งอย่างถูกต้องเพื่อไม่ให้เป็นขยะมีพิษต่อสิ่งแวดล้อม

ข้อพึงระวังเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานแบตเตอรี่แบบลิเธียมไอออน

แบตเตอรี่ประเภทนี้มีการปิดผนึกในตัวถังมิดชิด จึงไม่มีปัญหาทั้งในเรื่องการรั่วไหลของสารเคมี หรือก๊าซพิษ แม้ว่าอาจพบปัญหาเมื่อแบตเตอรี่สัมผัสน้ำ แต่ด้วยลักษณะบรรจุภัณฑ์ที่ปิดสนิท ปัญหาที่เกิดจากแบตเตอรี่เปียกน้ำจึงเกิดขึ้นได้ยาก

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save